หนอนเจาะผล (Durian borer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Conogethes punctiferalis Guenee

ลักษณะการเข้าทำลาย

หนอนเจาะผลเป็นศัตรูทุเรียนที่สำคัญพบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศ หนอนเจาะผล จะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็ก อายุประมาณ 2 เดือนไปจนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วง เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไป จนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผล ที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้

     

ที่มา : สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

การป้องกันกำจัด

1. หมั่นตรวจดูตามผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย

2. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนทำลายควรเก็บทำาลายโดยเผาไฟหรือฝังเสีย

3. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย

4. การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำ ระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไปจะช่วยลดความเสียหายได้

5. ใช้สารกำจัดแมลง

   ไตรอะโซฟอส [ ไตรอะโซฟอส : กลุ่ม 1B ] + คิวแม็กซ์ ไบโอ

     

   คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา ไตรอะโซฟอส 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

                      ใช้อัตรา คิวแม็กซ์ ไบโอ 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

                         - ใช้คุมไข่ ไล่ตัวแก่ ลดการวางไข่

*** ไม่ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้หนอนเจาะผลทุเรียนสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

การสลับกลุ่มสารกำจัดแมลง

กลุ่ม 1 : คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟต และโพรฟิโนฟอส

กลุ่ม 3 : แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน, ไซเพอร์เมทริน และเดลทาเมทริล

กลุ่ม 5 : สไปนีโทแรม และสไปโนแสด

กลุ่ม 6 : อะบาเมกติน และอีมาเมกตินเบนโซเอต

กลุ่ม 14 : คาร์แทบไฮโรคลอไรด์

 

คุณภาพ เหนือราคา