ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช หมายถึง ธาตุที่พืชต้องการเพื่อการดำรงชีพ ธาตุเหล่านี้มีบทบาทในกระบวนการ เมตาบอลิซึมอย่างเฉพาะเจาะจงในพืช ไม่มีธาตุอื่นใดทำหน้าที่แทนได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อขาดธาตุใดธาตุหนึ่งจะชะงักการเจริญเติบโต มีอาการผิดปกติที่เป็นลักษณะเฉพาะ และอาจฟื้นตัวได้เมื่อได้รับปุ๋ยซึ่งมีธาตุนั้นจนเพียงพอ

ความต้องการธาตุอาหารพืช

ธาตุที่เป็นธาตุอาหารพืชนอกเหนือจาก คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ซึ่งพืชได้จากอากาศและน้ำแล้ว ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช ซึ่งพืชจะได้รับจากดินมีจำนวน 14 ธาตุ ธาตุเหล่านี้ได้มากจากการผุพังสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุ และอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามความปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ มหธาตุ และจุลธาตุ

1. มหธาตุ (Macronutrients) หรือธาตุอาหารที่ต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

1.1 ธาตุหลัก เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก และมักขาดแคลนในดินทั่วไปจึงต้องใส่ลงไป ในรูปของปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)

ไนโตรเจน (N)

   - ไนโตรเจนมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผล การเจริญเติบโตของผล และคุณภาพผล

  - ไนโตรเจนเป็นธาตุที่เปลี่ยนรูปและสูญเสียไปจากดินได้ง่าย ดินส่วนใหญ่จึงมีไนโตรเจน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป จะเกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต เช่น ถ้าไนโตรเจนมากเกินไปพืชจะ เจริญเติบโตทางใบและกิ่งก้านมากเกินไปทำให้ออกดอกช้า ทำให้ผลมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในบางพืชทำให้เนื้อผลนิ่มช้ำง่าย ผลแก่ช้า

   - เนื่องจากไนโตรเจนเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายง่ายในพืช เมื่อพืชขาดธาตุไนโตรเจน ไนโตรเจนก็จะ เคลื่อนย้ายจากใบล่างๆขึ้นไปยังส่วนยอด อาการใบเหลืองเพราะขาดธาตุไนโตรเจนจึงแสดงให้ เห็นในใบล่างๆ

ฟอสฟอรัส (P)

   - ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญมากในพืช แต่พืชต้องการฟอสฟอรัสในปริมาณไม่มาก เหมือนกับไนโตรเจนและโพแทสเซียม

   - ถ้าพืชมีฟอสฟอรัสสะสมในใบมากเกินไป พืชมักจะแสดงอาการขาดจุลธาตุ ส่วนการที่มี ฟอสฟอรัสในดินมากเกินไป ฟอสฟอรัสจะทำปฏิกิริยาตกตะกอนกับจุลธาตุ โดยเฉพาะสังกะสี เหล็ก และแมงกานีส ทำให้พืชไม่สามารถดูดจุลธาตุเหล่านี้ไปใช้ได้ พืชจึงแสดงอาการขาดจุลธาตุ แม้ว่าจะใส่จุลธาตุเพิ่มให้ทางดินก็จะไม่ได้ผลเพราะจะตกตะกอนกับฟอสฟอรัสได้ต่อไปอีก วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือ ต้องลดการใช้ฟอสฟอรัสลง

   - การประเมินสถานะของฟอสฟอรัสในไม้ผลที่เหมาะสมที่สุดจึงควรมีการวิเคราะห์ดินเพื่อให้ ทราบว่ามีฟอสฟอรัสในดินในปริมาณที่เพียงพอแล้วหรือไม่ และจำเป็นต้องวิเคราะห์ใบควบคู่ กันไปด้วย เพื่อให้ทราบว่าพืชมีความสามารถดูดฟอสฟอรัสไปใช้มากน้อยอย่างไร ทั้งนี้ถ้าพืชมี ระบบรากดี และแผ่ขยายไปหาอาหารได้มากก็จะสามารถดูดธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ได้มาก และ หากมีการปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมจะทำให้พืชดูดฟอสฟอรัสไปใช้ได้มากขึ้น

โพแทสเซียม (K)

   - โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นมากสำหรับไม้ผล เพราะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การสังเคราะห์โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต พืชที่ขาดโพแทสเซียมมักจะให้ผลขนาดเล็ก สีผิวไม่สวย รสชาติไม่ดี ทั้งนี้โพแทสเซียมไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการติดผลแต่เกี่ยวข้องโดยอ้อม เนื่องจาก พืชที่ขาดโพแทสเซียมจะมีความแข็งแรงสมบูรณ์ลดลง

   - ดินที่เป็นกรดจัด มีเนื้อหยาบ และมีฝนตกชุก จึงมีการชะล้างหรือสูญเสียของโพแทสเซียมสูง ถ้าไม้ผลขาดธาตุโพแทสเซียม จะชะงักการเจริญเติบโต อาการต่อมา คือ ใบแก่มีสีเหลืองซีด โดยเริ่มจากขอบใบและปลายใบ พืชบางชนิดจะพบจุดสีน้ำตาลไหม้กระจายทั่วใบหรือพบจุดสีแดง หรือเหลืองระหว่างเส้นใบในใบอ่อน ถ้ามีอาการรุนแรงใบจะแห้งและร่วงก่อนเวลา แต่ถ้ามี โพแทสเซียมในดินหรือในใบพืชมากเกินไป ก็มีผลเสียเช่นกันโดยจะทำให้พืชดูดธาตุ แมกนีเซียมและแคลเซียมลดลง ในทุเรียนมักจะมีปัญหานี้มาก เมื่อมีการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม ในปริมาณมาก จึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยที่มีแมกนีเซียมและแคลเซียมร่วมด้วย

ปุ๋ยเหลววีสต้า

วีสต้า 17-6-6

สูตร แตกใบอ่อนเร็ว

วีสต้า 12-12-12

สูตร บำรุงใบ และผลอ่อน

 

วีสต้า 0-22-28

สูตร สะสมอาหาร

วีสต้า 4-25-14

สูตร เพิ่มพลังงาน เสริมสร้างการออกดอก

วีสต้า 6-3-17

สูตร ขยายขนาดผล เพิ่มคุณภาพผลผลิต

วีสต้า 0-0-24 + 25.5S

สูตร เพิ่มน้ำหนัก เข้าสีเร็ว

 

1.2 ธาตุรอง เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมากเช่นเดียวกับธาตุหลัก ซึ่งในอดีตมักไม่พบอาการขาด ธาตุอาหารในกลุ่มนี้แต่ปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยต่างๆ ปริมาณมากขึ้น ดินมีสภาพเป็นกรด จึงมักพบอาการขาด ธาตุรอง ซึ่งธาตุรองมี 3 ธาตุ คือ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์ประกอบอยู่ในปุ๋ยที่ใช้กันทั่วไป

แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg)

   - แคลเซียมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพืช เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ การแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของเซลล์ ส่วนแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับขบวนการสังเคราะห์แสงและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช

   - โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม มีความสัมพันธ์ ค่อนข้างซับซ้อน ถ้ามีธาตุใดธาตุหนึ่ง ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลกระทบต่อธาตุอื่นๆได้

กำมะถัน (S)

   - กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนของพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัว เช่น วิตามินบี1 มีส่วนทางอ้อมต่อการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เพราะกำมะถันจะเป็น องค์ประกอบของโปรตีนพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหาร

2. จุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่พืชขาดไม่ได้มี 8 ธาตุ คือ เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), โบรอน (B), คลอรีน (Cl) และนิกเกิล (Ni) ในสวนไม้ผลบางพื้นที่โดยเฉพาะสวนที่มีการสะสมฟอสฟอรัสอาจจะทำให้ไม้ผลได้รับธาตุอาหารเสริมบางธาตุไม่เพียงพอ การนำปุ๋ยจุลธาตุซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยจุลธาตุเกือบทุกชนิดมาละลายน้ำ และพ่นทางใบอาจจะทำให้ไม้ผลมีการแตกใบอ่อน และใบเจริญเติบโตเร็วขึ้น ต้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น

บทบาทและหน้าที่ของธาตุอาหารพืช

คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) : เป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ต่างๆ ในเซลล์พืช เช่น คาร์โบไฮเดรต, เซลลูโลส, โปรตีน, กรดอะมิโน, ลิกนิน และไขมัน

ไนโตรเจน (N) : สำคัญต่อการเจริญเติบโต การขยายเพิ่มขนาด และปริมาณของเซลล์ เป็นองค์ประกอบที่ สำคัญของโครงสร้างเซลล์คลอโรฟิลล์ และมีประมาณ 70 % อยู่ในคลอโรพลาส

ฟอสฟอรัส (P) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน และสารอินทรีย์ที่สำคัญในพืชเป็นองค์ประกอบของสารที่ทำ หน้าที่ถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการ เช่น การสังเคราะห์แสง และการหายใจ

โพแทสเซียม (K) : ช่วยสังเคราะห์น้ำตาล แป้งและโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลจากใบไปยังผล ช่วยให้ผลเจริญเติบโตเร็ว พืชแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคบางชนิด

แคลเซียม (Ca) : เป็นองค์ประกอบในสารที่เชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดี

แมกนีเซียม (Mg) : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วย สังเคราะห์กรดอะมิโน, วิตามิน, ไขมัน และน้ำตาล

กำมะถัน (S) : เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน ช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษบางชนิด กำมะถันมักกระจายอยู่ทั่วต้นพืช ช่วยเพิ่มกลิ่น และรสชาติของพืชให้ดีขึ้น

เหล็ก (Fe) : มีความสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม และเป็นตัวพาและกระตุ้นเอ็นไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง และการหายใจ

แมงกานีส (Mn) : บทบาทในการสังเคราะห์แสงเป็นตัวกระตุ้น การทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช

สังกะสี (Zn) : เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของดอกและผล

ทองแดง (Cu) : ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้งกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด

โมลิบดินัม (Mo) : จำเป็นสำหรับการตรึงธาตุไนโตรเจน ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียว

โบรอน (B) : ช่วยในการออกดอกและผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผล และการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์

คลอรีน (Cl) : มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง ส่งเสริม การเปลี่ยนรูปไนเตรทและแอมโมเนียเป็นอินทรีย์สาร

นิกเกิล (Ni) : เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ยูรีเอสและไฮโดรจีเนส มีบทบาทในการงอกของเมล็ด

 

ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารพืช

คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) : ไม่พบอาการขาดธาตุ เนื่องจากมีพอเพียงในอากาศ และน้ำ

ไนโตรเจน (N) : ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งใบ (chlorosis) โดยเริ่มจากปลายใบ เกิดที่ใบแก่ก่อน หากขาดรุนแรงจะเกิดทั้งต้น กิ่งก้านเล็กลีบ ต้นแคระแกร็น

ฟอสฟอรัส (P) : ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ต่อมาใบเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่น ลำต้น แคระแกร็น ไม่ผลิดอกออกผล

โพแทสเซียม (K) : ใบเหลือง ขอบใบไหม้ ใบไหม้ และตาย (necrosis) โดยเริ่มจากขอบใบ แผ่นใบเกิดจุดสีน้ำตาลแห้ง ใบเหี่ยวง่าย เกิดที่ใบแก่ก่อน

แคลเซียม (Ca) : ใบที่เจริญใหม่จะหงิก ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้นผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

แมกนีเซียม (Mg) : ใบสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียว โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุด ขาวๆหรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์เป็นผลให้พุ่มต้นโปร่ง กระทบถึงการออกดอกและติดผล

กำมะถัน (S) : แผ่นใบสีเหลืองแต่เส้นใบยังเขียว เกิดที่ใบอ่อนก่อน ยอดชะงักการ เจริญเติบโต

เหล็ก (Fe) : ใบเหลือง เส้นใบเขียว เกิดที่ใบอ่อนก่อน ถ้าอาการรุนแรงใบอ่อนจะมีสีขาวซีดและตาย

แมงกานีส (Mn) : ใบสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียว โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาวๆหรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์เป็นผลให้พุ่มต้นโปร่ง กระทบถึงการออกดอกและติดผล

สังกะสี (Zn) : ตายอดและคอปล้องไม่ขยาย ทำให้ใบออกมาซ้อนๆ กันเป็นกระจุก

ทองแดง (Cu) : ตายอดชะงักการเจริญเติบโต และกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง พืชทั้งต้นชะงักการเจริญเติบโต

โมลิบดินัม (Mo) : ใบที่อยู่ล่างๆจะด่างๆขอบใบหงิกงอ ดอกร่วง และผลแคระแกรนไม่เติบโตเต็มที่

โบรอน (B) : ตายอดตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างจะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้ง และ เปราะ

คลอรีน (Cl) : พืชเหี่ยวง่ายใบซีดและบางส่วนแห้งตาย แห้งตายเป็นจุด ลำต้นแคระแกร็น

นิกเกิล (Ni) : ความงอกต่ำ

คุณภาพ เหนือราคา