แมลงค่อมทอง (Green weevil)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypomeces squamosua (Fabricius)
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองเป็นมัน ตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มอยู่บนลำต้น เมื่อถูกกระทบกระเทือนจะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน
ที่มา : สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
การป้องกันกำจัด
1. ตัวเต็มวัยมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อถูกกระทบกระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าให้ตัวเต็มวัยหล่น รวบรวมนำไปทำลาย
2. ใช้สารกำจัดแมลง
คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ใช้กำจัดแมลงระยะตัวเต็มวัย
*** ไม่ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้แมลงค่อมทองสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง
การสลับกลุ่มสารกำจัดแมลง
กลุ่ม 1 : คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟต, โพรฟิโนฟอส, โอเมทโทเอต และไตรอะโซฟอส
กลุ่ม 2 : ฟิโพรนิล
กลุ่ม 3 : แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน
คุณภาพ เหนือราคา