เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durian Psyllids)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridala maleyensis (Crawford)

ลักษณะการเข้าทำลาย

- ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต ใบหงิกงอ แห้งและร่วงได้
- ตัวอ่อนจะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารนี้ถูกขับออกมา
- ระบาดในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน

     

การป้องกันกำจัด

1. บังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยพ่นยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้

2. ใช้สารกำจัดแมลง

   คิวแม็กซ์บาติน [ อะบาเมกติน : กลุ่ม 6 ] + คิวโลทริน [ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน : กลุ่ม 3A ]

         

   คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา คิวแม็กซ์บาติน 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

                      ใช้อัตรา คิวโลทริน 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

*** ไม่ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

การสลับกลุ่มสารกำจัดแมลง

กลุ่ม 1 : คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟต,โพรฟิโนฟอส, โอเมทโทเอต และไตรอะโซฟอส

กลุ่ม 2 : ฟิโพรนิล

กลุ่ม 3 : แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน

กลุ่ม 4 : อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีทอกแซม และไดโนทีฟูแรน

กลุ่ม 16 : บูโพรเฟซิน (คุมไข่)

คุณภาพ เหนือราคา