เพลี้ยไฟ (Thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips doralis Hood
ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม
ระยะใบอ่อน : เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทำให้ใบอ่อนร่วงได้
ในระยะดอกอ่อนและดอกบาน : ถ้าดอกบานจะอาศัยอยู่ตามเกสร กลีบดอก ทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์และดอกร่วง
ระยะหางแย้ไหม้-ผลอ่อน : จะพบตามซอกหนามทุเรียน ทำให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็น ทุเรียนหนามจีบ หรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตก
การป้องกันกำจัด
1. เมื่อพบระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง
2. ใช้สารกำจัดแมลง
คิวโพนิล [ ฟิโพรนิล : กลุ่ม 2B ] + คิวแม็กซ์ ไบโอ
คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา คิวโพนิล 10-20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ใช้อัตรา คิวแม็กซ์ ไบโอ 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ใช้คุมไข่ ไล่ตัวแก่ ลดการวางไข่
*** ไม่ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง
การสลับกลุ่มสารกำจัดแมลง
กลุ่ม 1 : คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟต,โพรฟิโนฟอส, โอเมทโทเอต และไตรอะโซฟอส
กลุ่ม 2 : ฟิโพรนิล
กลุ่ม 3 : แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน
กลุ่ม 4 : อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีทอกแซม และไดโนทีฟูแรน
กลุ่ม 16 : บูโพรเฟซิน (คุมไข่)
คุณภาพ เหนือราคา