เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amrasca durianae Hongsaprug

ลักษณะการเข้าทำลาย

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบบิดงอ มีอาการไหม้บริเวณขอบใบหากระบาด ในช่วง ใบอ่อนจะทำให้ใบร่วง

     

การป้องกันกำจัด

1. ใช้สารกำจัดแมลง

  พี เอ็ม ซี [ ฟีโนบูคาร์บ : กลุ่ม 1A ] + คิวโพรซิน [ บูโพรเฟซิน : กลุ่ม 16 ]

     

  คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา พี เอ็ม ซี 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

                     ใช้อัตรา คิวโพรซิน 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

                        - ยับยั้งการลอกคราบแมลงตัวอ่อน

*** ไม่ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียนสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

การสลับกลุ่มสารกำจัดแมลง

กลุ่ม 1 : คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟต,โพรฟิโนฟอส, โอเมทโทเอต และไตรอะโซฟอส

กลุ่ม 2 : ฟิโพรนิล

กลุ่ม 3 : แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน

กลุ่ม 4 : อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีทอกแซม และไดโนทีฟูแรน

กลุ่ม 16 : บูโพรเฟซิน (คุมไข่)

คุณภาพ เหนือราคา